การจัดการอาหารสำหรับสัตว์ป่วยโรคไต และสารอาหารสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

การดูแลสัตว์ที่มีปัญหาเกี่ยวกับภาวะของโรคไต การดูแลจัดการเกี่ยวกับเรื่องของอาหาร ก็ถือเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลอีกหนึ่งวิธี โดยวิธีการรักษาคือ การควบคุมอาหารอย่างเหมาะสม การให้น้ำอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการขาดน้ำ และ การควบคุมภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้จาก ภาวะไตวาย เช่น ความดันโลหิตสูง หรือภาวะโปรตีนรั่วออกมากับปัสสาวะ โดยที่วันนี้ เราจะมามุ่งเน้นไปในเรื่องของการ ที่จะทำให้เห็นผลการรักษาที่ดีขึ้นได้ โดย การจัดการอาหารสำหรับสัตว์ป่วยโรคไต นั้น จะมีสารอาหารที่สำคัญที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ หรือ เรียกว่าเป็น Key nutritional factors ซึ่ง วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟัง ดังนี้

การจัดการอาหารสำหรับสัตว์ป่วยโรคไต

ฟอสฟอรัส

โดยปกติไต จะมีหน้าที่ในการขับฟอสฟอรัสทิ้งออกไปจากร่างกาย แต่ถ้าหากมีอาการที่เกิดจากปัญหาของไตพัง ก็จะทำให้ร่างกายสามารถขับฟอสฟอรัสทิ้งออกมาได้น้อยลง ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่ฟอสฟอรัสในเลือดจะเพิ่มขึ้น ฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้นนี้จะรบกวนสมดุลของแคลเซียมในร่างกาย อีกทั้งระดับของฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ยังทำให้โรคไตดำเนินไปข้างหน้าเร็วขึ้นด้วย เราอาจจะสงสัยว่าฟอสฟอรัสนั้นมาจากแหล่งไหน ฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรตีน ดังนั้นการจำกัดโปรตีนจึงมีส่วนช่วยในการลดระดับฟอสฟอรัสในเลือดได้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อโรคไตดำเนินไปจนถึงระดับสูง ๆ แล้ว ไตจะขับฟอสฟอรัสได้น้อย ซึ่งจะส่งผลโดยตรงในการเกิดภาวะฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นในเลือดที่สูงกว่าปกติ ถึงแม้ว่าจะมีการคุมระดับของฟอสฟอรัสภายในอาหาร ในปริมาณที่เหมาะสมแล้วก็ตาม เมื่อถึงระยะนั้น สัตวแพทย์จะให้ยาดักจับฟอสฟอรัสในอาหารมากินเพิ่ม ซึ่งจะเป็นวิธีที่ในการช่วยลดระดับของฟอสฟอรัสภายในได้ระดับหนึ่งเลย

กรดไขมันโอเมก้า 3 

สำหรับ กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่มีประโยชน์มาก ๆ ในหลายส่วน โดยเชื่อว่ามีความสามารถในการช่วยลดการอักเสบ และช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคไตได้ โดยกรมไขมันโอเมก้า 3 นี้ มีมากในน้ำมันปลา ซึ่งจะต้องเป็นน้ำปลาแบบที่ประกอบด้วยโอเมก้า 3 เยอะด้วย ในการไปซื้อเองนั้นต้องดูให้ดี เพราะบางทีเราจะได้น้ำมันปลาที่มีโอเมก้า 6 สูงมาแทน และสุดท้ายคือ น้ำมันปลา ไม่ใช่น้ำมันตับปลานะ เพราะทั้งสองแบบจะมีคุณสมบัติ และการใช้งานแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นก่อนเลือกนำเอามาใช้ควรอ่านให้ดี และศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพราะไม่อย่างนั้นจากที่จะได้ผลที่ดี จะกลายเป็นได้ผลเสียตามมานั่นเอง